วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

งาน5 ในสถานที่ฝึกงานของ นศ ใช้ระบบควบคุมคุณภาพอย่างไร

Quality Assurance (QA) กับ Quality Control (QC)

QC (Quality Control) หมายถึง การควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด ด้วยกระบวนการ Inspection คือกระบวนการการตรวจสอบตำหนิและจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะทำการส่งกลับไปแก้ไขหรือคัดทิ้ง จากนั้นจึงทำการบันทึกและเก็บสถิติของลักษณะรวมทั้งจำนวนผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดการบกพร่อง สำหรับนำไปวิเคราะห์สาเหตุปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วจึงทำการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถทำการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้มากที่สุดต่อไป
QA (Quality Assurance) หมายถึง กระบวนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้า ด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อบกพร่องและความผิดพลาดของผลิตภัณฑ์จากเอกสาร work instructions โดยใช้แนวคิด “Do it right the first time.” มาเป็นหลักในการผลิตสินค้า ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่แตกต่างจาก QC เนื่องจากเป็นการตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจากเอกสาร แทนการคัดแยกของเสียออกจากของดีในขั้นตอนสุดท้าย ที่เป็นการเพิ่มต้นทุนและเสียเวลาโดยใช่เหตุ
จะเห็นได้ว่าทั้งกระบวนการ การตรวจสอบและการควบคุมคุณภาพ (QC) และ การประกันคุณภาพ (QA) นั้นต่างเป็นกระบวนการตรวจสอบเพื่อทำการป้องกัน (Prevention) การเกิดความผิดพลาดที่สามารถส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการในทุกด้าน โดยที่ QC จะให้ความสนใจในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ส่วน QA จะสนใจวงจรคุณภาพ (Quality Loop) เป็นหลัก
การควบคุม (control) หมายถึง การบังคับให้กิจกรรมต่างๆ สามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการที่วางไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด
คุณภาพ (quality) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน (fineness for use) มีการออกแบบที่ดี (quality of design) และมีการผลิตที่ได้มาตรฐาน โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องมีความมั่นคงคงทน มีรูปร่างสวยงาม สามารถใช้ได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน

คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

  • สามารถปฏิบัติงานได้ (performance) คือ ผลิตภัณฑ์มีความสามารถในการใช้งานได้ตามหน้าที่ที่ได้ถูกกำหนดไว้ 
  • มีความสวยงาม (aesthetics) คือ สินค้าสามารถดึงดูดใจลูกค้าได้ในทุกๆด้าน ได้แก่ กลิ่น รสชาติ รูปร่าง ผิวสัมผัส สีสัน เป็นต้น
  • มีคุณสมบัติพิเศษ (special features) คือ ผลิตภัณฑ์ควรมีความโดดเด่นรวมทั้งมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสินค้าชนิดอื่นๆ
  • มีความสอดคล้อง (conformance) คือ ราคาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกัน
  • มีความปลอดภัย (safety) คือ มีความเสี่ยงอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่อผู้ใช้งานน้อยที่สุด
  • สามารถเชื่อถือได้ (reliability) คือ ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ความคงทน (durability) คือ ระยะเวลาหรืออายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
  • คุณค่าที่รับรู้ (perceived quality) คือ ผลิตภัณฑ์มีภาพลักษณ์ที่ดี และสามารถสร้างความประทับใจ แก่ผู้บริโภคได้
  • มีบริการหลังการขาย (service after sale) คือ ธุรกิจมีบริการหลังการขายที่ดีและต่อเนื่องแก่ผู้บริโภค ในการคงคุณสมบัติและการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ รวมไปถึงมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์
ถึงแม้ว่าคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์จะเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของผู้ผลิตในการดำเนินธุรกิจ มีความแตกต่างกับวัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ในสายตาของผู้ผลิตและผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์จึงมีมุมมองเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าแตกต่างกัน ซึ่งทัศนะของผู้ผลิตกับลูกค้าสำหรับด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สามารถสรุปได้ ดังนี้

ความหมายของคุณภาพที่ดีสำหรับลูกค้า

  • ผลิตภัณฑ์มีความสามารถในการใช้งานตาม คุณสมบัติที่ระบุไว้ได้อย่างดี
  • ผลิตภัณฑ์ที่ได้มามีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม คุ้มค่าต่อการบริโภคของลูกค้า
  • ผลิตภัณฑ์ไม่มีอันตรายทั้งต่อทั้งผู้ใช้และต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้ใช้สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ต้องการ
  • ผลิตภัณฑ์มีบริการหลังการขายจากผู้ผลิต สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า รวมทั้งสำหรับรักษาสภาพสินค้าให้สมบูรณ์ตลอดช่วงระยะเวลาในการใช้งาน
  • ผลิตภัณฑ์สามารถสร้างความประทับใจ รวมไปถึงความภาคภูมิใจต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้

ความหมายของคุณภาพที่ดีสำหรับผู้ผลิต

  • มีกระบวนการการผลิตที่ถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงสิ้นสุดการผลิต
  • มีกระบวนการการผลิตที่ใช้แนวคิด zero defects คือการผลิตที่ไม่เกิดของเสียขึ้น หรือมีระดับการเกิดของเสียไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • มีกระบวนการการผลิตที่ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ และสามารถทำการผลิตได้อย่างถูกต้องตามตัวแปรที่ต้องการ
  • มีความเหมาะสมในด้านระดับต้นทุนการผลิต ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่เหมาะสมและยอมรับได้

การควบคุมคุณภาพ (quality control)  

เมื่อ “การควบคุม” และ “คุณภาพ” ถูกนำมารวมกันจะได้คำว่า การควบคุมคุณภาพ (quality control) ที่เป็นการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการออกแบบ กระบวนการผลิต หรือการตรวจสอบและทดสอบผลผลิต เพื่อสร้างคุณภาพและป้องกันการเกิดตำหนิแก่ผลิตภัณฑ์
โดยสรุปแล้วการควบคุมคุณภาพจึงหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถทำการผลิตสินค้าออกมาได้อย่างมีคุณภาพและเหมาะสมกับราคา มีความเรียบร้อย ประณีตสวยงาม และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างดี

งาน4 นศ มีวิธีการขัดแย้งในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานอย่างไร

เริ่มแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อน ความขัดแย้ง หรือ การทะเลาะกัน ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป เพราะเราเป็นมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่การคิดเห็นตรงข้าม ความเครียดจากสภาวะการแข่งขัน ปัญหาส่วนตัว หรือแม้กระทั่งวันที่ไม่เป็นใจ ก็สามารถนำไปสู่ความขัดแย้งในที่ทำงานได้
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรทำความเข้าใจว่า ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
  • ารทะเลาะกัน หรือ การมีความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ กรณีนี้จะไม่กระทบต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน ทั้งยังนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม ส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่มองว่ามันคือความขัดแย้ง แม้จริงๆ จะใช่ก็ตามที มุมมองที่ตรงกันข้าม ช่วงเวลาแห่งการระดมความคิด และพูดคุยเรื่องกลยุทธ์ สิ่งเหล่านี้คือความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ
  • การทะเลาะกัน หรือความขัดแย้งแบบบั่นทอน นี่คือสิ่งที่ส่งผลต่อการทำงาน ขวัญกำลังใจและความมีประสิทธิภาพในระยะยาว และรู้อะไรไหม หากจัดการไม่ดีแล้ว ความขัดแย้ง หรือการทะเลาะกันอย่างสร้างสรรค์ก็สามารถกลายเป็นความขัดแย้งแบบบั่นทอนได้ง่ายๆ เลย
เมื่อมีคนที่เราเห็นด้วย ก็ย่อมมีคนที่เราไม่เห็นด้วยเสมอ ไม่เป็นไรหรอก เคยกลอกตาเวลาต้องฟังใครพูดไหม? นั่นแหละสัญญาณแรกของปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
เลิกหนีเสียเถอะ เพราะมันไม่มีวันไปไหน
ปัญหาส่วนใหญ่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ที่จริงมันมักจะบานปลายอย่างรวดเร็วด้วยซ้ำ อย่ามัวแต่หลบหน้า ยิ่งคุณลงมือเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งแก้ได้ไวเท่านั้น มาดูวิธีกันเลย

1. ไม่เกี่ยวว่าใครจะถูกหรือผิด แต่คำถามคือ อะไรคือสิ่งที่ถูกที่ควรทำ

ใครๆ ก็ย่อมอยากเป็นฝ่ายถูก เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะสนับสนุนความคิดของตัวเองเพราะว่ามันเป็นของคุณ ไม่สำคัญว่าจะใช้เวลาเพื่อแก้ต่างให้มันแค่ไหน แต่วิธีของคุณอาจไม่ใช่ทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็ได้
การเป็นผู้ชนะไม่ได้พิสูจน์ว่าเพื่อนร่วมงานของคุณนั้นผิด แต่มันคือการหาประโยชน์เพื่อส่วนร่วม และแนวทางการแก้ไขให้เจอ จงจำไว้ว่าคุณไม่ได้กำลังต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม แต่คุณทั้งคู่กำลังต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นต่างหาก หากทั้งสอง ทั้งคุณและเพื่อนร่วมงาน มีแนวความคิดนี้ ถึงแม้ว่าความคิดของคุณทั้งสองไม่ได้เหมือนกันสะทีเดียว แต่ เป้าหมายของคุณนั้นเหมือนกัน จากการทะเลาะกันเพื่อเอาชนะ ก็จะกลายเป็นการทะเลาะกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับบริษัทของคุณ

2. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

อนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามนี้ ลองถอยออกมาตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในสิ่งที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ การยึดเอาเป้าหมายของการสนทนานี้เป็นหลัก จะช่วยให้คุณวางเรื่องอารมณ์เอาไว้ แล้วมาสนใจสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ได้
คุณแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นยังไง? ลองกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย เช่น 
  1. ต้องการรวบรวมข้อมูล – รับฟัง
  2. ต้องการวิเคราะห์ถึงปัญหา – ทำความเข้าใจ
  3. ต้องการเสนอทางแก้ – พูดคุย
การตั้งเป้าหมายตอนจบเอาไว้ เป็นวิธีที่ดีสำหรับเข้าหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น มองมันเป็นเรื่องของธุรกิจ อย่ามองเป็นปัญหาส่วนตัว

3. พูดคุยกันต่อหน้ากับเพื่อนร่วมงาน

ทำไมถึงพูดเรื่องนี้ในเมื่อเราสามารถโต้ตอบกันผ่านอีเมล์ที่จงใจยั่วโมโหได้เป็นสัปดาห์?
การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นแบบเผชิญหน้าอาจเป็นเรื่องน่ากลัว แต่นั่นคือส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดของกลยุทธ์การแก้ปัญหาของคุณ
วิธีสื่อสารนั้นมีหลายทาง แต่การส่งอีเมล์หรือข้อความผ่าน Slack อาจทำให้เกิดการตีความที่ผิดพลาดได้ง่าย พยายามพัฒนาทักษะการเจรจาและทักษะการแก้ไขปัญหาด้วยการเผชิญหน้า และพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่หลบหน้า
การสื่อสารผิดพลาด คือหนึ่งในสาเหตุหลักของความขัดแย้งในที่ทำงาน ซึ่งเราสามารถเลี่ยงปัญหานี้ได้ง่ายๆ ด้วยการเจอหน้ากัน หรือโทรศัพท์หาไปเลย

4. ยึดเอาความจริงเป็นหลัก

การยึดเอาความจริงเป็นหลักและตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีความรู้สึกส่วนตัวหรือวาระอื่นใดเข้ามาอยู่ในสมการคือเรื่องที่สำคัญมาก ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นี้คืออะไร? พยายามจับสถานการณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ราวกับคุณมีกล้องวิดีโอสำหรับบันทึกภาพ ขอให้ฝ่ายตรงข้ามตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วดูว่าคุณเห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงรึเปล่า
จู่ๆ ก็เป็นเรื่องส่วนตัว
ถ้าคุณเห็นด้วยกับความจริงที่เกิดขึ้น และพบว่าปัญหาเดียวที่มีคือเรื่องทัศนคติ ก็ถึงเวลาแล้วที่จะจัดการอารมณ์ของคุณ จงเลี่ยงคำว่า “คุณพูดว่า” อย่างสุดกำลัง เรามักจำความรู้สึกของตัวเองในสิ่งที่ถูกพูดถึงได้ แต่ไม่ใช่ข้อความจริง ลองใช้คำว่า “ฉันรู้สึกว่า…” แทนคำว่า “คุณพูดว่า” มันช่วยลบทุกแง่มุมของการกล่าวโทษออกจากบทสนทนา และไม่คาดเดาจุดประสงค์ของอีกฝ่ายด้วย พูดอีกแง่ก็คือพยายามพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่พูดคุยเพื่อทำให้อีกฝ่ายผิด

5. ป้องกันความขัดแย้งในอนาคต

การเปลี่ยนการโต้เถียงที่เผ็ดร้อนให้กลายเป็นบทเรียนอันมีค่าไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ลองดูว่าคุณสามารถมองปัญหานั้นให้เป็นโอกาสสำหรับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในเชิงบวกหรือไม่ คุณสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง? ตัวคุณและสมาชิกในทีมจะได้ประโยชน์จากประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาได้อย่างไรบ้าง?
คราวหน้าคุณจะทำอะไรให้ต่างออกไป?
บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่จะปรับรูปแบบการสื่อสารและระบบการจัดการตัวเอง หรือแค่ชัดเจนกับเจตจำนงของคุณให้มากขึ้น สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่แหละสำคัญ หรือบางทีคุณแค่อยากลาไปพักผ่อน อยากทานข้าวเที่ยงกับทีมกับเพื่อนร่วมงาน? ไม่ก็วิธีที่ต่างออกไปในการรับมือกับเรื่องยุ่งยากซับซ้อน?
การจัดการความขัดแย้งยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างคุณกับความขัดแย้งเอง  นี่เป็นทักษะสำคัญด้านสังคมที่ควรมี และคุ้มค่าที่จะพัฒนา

6. ปล่อยมันไป

บางครั้งก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนผลลัพธ์ของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่คุณสามารถเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อมันได้ เพื่อนร่วมงานบางคน หรือ เรื่องบางเรื่องก็ไม่คุ้มค่าที่คุณจะเปลืองพลังของคุณหรอกนะ
ยอมรับความผิดพลาด อย่าพูดขอโทษตามมารยาท แต่จงขอโทษเมื่อคุณรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ จิตสำนึกความรับผิดชอบเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญ และมันอาจเปลี่ยนความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมาก แถมยังช่วยให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นได้ด้วย
สรุปง่ายๆก็คือ อะไรที่คุณเปลี่ยนไม่ได้ก็จงปล่อยผ่านมันไปซะ มาหาทางออกที่ดีที่สุดในการพูดถึงปัญหากวนใจนั้นดีกว่า เนื่องจากเพื่อนร่วมงานบางคนนั้นอาจจะทำงานในสไตล์ที่คนหลาย ๆ คนอาจจะรับมือยากจนเกินไป

งาน3 ในสถานที่ฝึกงานของ นศ มีกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงอย่างไร

องค์ประกอบรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดท ารายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการ โรงงาน ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของโรงงาน
2. แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงาน รวมทั้งสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่พักอาศัย โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เส้นทางจราจร และชุมชนใกล้เคียง ในระยะ 500 เมตร โดยรอบ
3. แผนผังรวมที่แสดงต าแหน่งของโรงงาน ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น การเกิด เพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ในกรณีที่มีหลายโรงงานอยู่ในบริเวณเดียวกัน
4. แผนผังโรงงานขนาดมาตราส่วน 1 : 100 หรือขนาดที่เหมาะสม แสดงรายละเอียดการ ติดตั้ง เครื่องจักร สถานที่เก็บวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ ที่พักคนงาน โรงอาหาร อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับความปลอดภัย และสิ่งอื่น ๆ ที่มีความส าคัญต่อการ เกิด การป้องกัน หรือการควบคุมเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย (กรณีผู้ประกอบกิจการขออนุญาตขยายโรงงานจะต้องระบุรายละเอียดเครื่องจักร และกระบวนการ ผลิตในส่วนขยายให้ชัดเจนด้วย)
5. จ านวนผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน วันท างาน และการจัดช่วงเวลาในการท างาน จ านวนกะ
6. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสอบสวนอุบัติเหตุ
7. ชื่อ-นามสกุล ต าแหน่ง วุฒิการศึกษาผู้ท าการชี้บ่งอันตราย อย่างน้อย 3 ท่าน
8. ขั้นตอนกระบวนการผลิตพร้อมแผนภูมิกระบวนการผลิต รวมทั้งระบุรายละเอียดของ อุณหภูมิความดัน ชนิดและปริมาณวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอย ได้เฉลี่ยต่อปี
9. บัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย
10. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
11. การจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนงานควบคุมความเสี่ยง/ แผนงานลด ความเสี่ยง) 12. บทสรุปผลการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนการด าเนินงาน ที่มีความเสี่ยงภายในโรงงาน 13. จัดท าแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ และหรือสารเคมีรั่วไหล (กรณีมีการใช้สารเคมีอันตราย)
รายละเอียดองค์ประกอบของรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง
1. ข้อมูลทั่วไปของโรงงาน ให้ระบุรายละเอียด ดังนี้ - ชื่อโรงงาน/บริษัท - การประกอบกิจการโรงงาน - ทะเบียนโรงงานเลขที่ - สถานที่ตั้งโรงงาน โทรศัพท์ โทรสาร - วัตถุประสงค์การส่งรายงาน (ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือใบอนุญาต ขยายโรงงาน หรือขอต่ออายุใบอนุญาต หรือครบ 5 ปี นับแต่ปีถัดจากปีที่ยื่นครั้งก่อน (ส าหรับโรงงานใน เขตประกอบการ) หรือแก้ไขรายงาน) - ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ผู้ประสานงานเรื่องการจัดท ารายงานวิเคราะห์ ความเสี่ยงของโรงงาน
2. แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงาน รวมทั้งสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่พักอาศัย โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เส้นทางจราจร และชุมชนใกล้เคียง ในระยะ 500 เมตร โดยรอบ ให้จัดท าแผนที่ตั้งโรงงาน รวมทั้งสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พักอาศัย โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เส้นทางจราจร และชุมชนใกล้เคียง ในระยะ 500 เมตร โดยรอบ (โดยให้ขีดเส้นวงกลม ล้อมรอบโรงงาน ในรัศมี 500 เมตร จากรั้วโรงงาน พร้อมระบุสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่รอบโรงงานในรัศมี 500 เมตร ภายในวงกลม) แสดงทิศที่ตั้งของโรงงาน (ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้) กรณีเป็น พื้นที่ว่างให้ระบุด้วย (ต้องสามารถอ่านออกได้ชัดเจน)
3. แผนผังรวมที่แสดงต าแหน่งของโรงงาน ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ในกรณีที่มีหลายโรงงานอยู่ในบริเวณเดียวกัน กรณีที่มีหลายโรงงานอยู่ในบริเวณเดียวกันให้จัดท าแผนผังรวมที่แสดงต าแหน่งของโรงงานที่ อยู่ในบริเวณเดียวกัน
4. แผนผังโรงงานขนาดมาตราส่วน 1 : 100 หรือขนาดที่เหมาะสม แสดงรายละเอียดการติดตั้ง เครื่องจักร สถานที่เก็บวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ ที่พักคนงาน โรงอาหาร อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับความปลอดภัย และสิ่งอื่น ๆ ที่มีความส าคัญต่อ การเกิด การป้องกัน หรือการควบคุมเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ให้จัดท าแผนผังโรงงานขนาดมาตราส่วน 1 : 100 หรือขนาดที่เหมาะสมประกอบด้วย (1) แผนผังบริเวณโรงงานแสดงรายละเอียดการติดตั้ง เครื่องจักร สถานที่เก็บวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ ที่พักคนงาน โรงอาหาร อุปกรณ์และ เครื่องมือเกี่ยวกับความปลอดภัย และสิ่งอื่น ๆ ที่มีความส าคัญต่อการเกิด การป้องกัน หรือการควบคุม เพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย (2) แผนผังแสดงรายละเอียดอาคาร หรือสถานที่ที่จัดเก็บวัตถุดิบ สารเคมี และผลิตภัณฑ์ (3) แผนผังแสดงรายละเอียดการติดตั้งเครื่องจักรภายในอาคารผลิตแต่ละอาคาร (กรณีมี หลายอาคาร และกรณีมีหลายชั้นให้แสดงรายละเอียดในแต่ละชั้นด้วย) กรณีเป็นรหัสอุปกรณ์ เครื่องจักร สัญญลักษณ์ให้ระบุรายละเอียดด้วย
5. ขั้นตอนกระบวนการผลิตพร้อมแผนภูมิกระบวนการผลิต รวมทั้งระบุรายละเอียดของ ความดัน อุณหภูมิ ชนิดและปริมาณวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และ วัตถุพลอยได้เฉลี่ยต่อปี (ให้จัดท ากระบวนการผลิตของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์) ให้จัดท าขั้นตอนกระบวนการผลิตพร้อมแผนภูมิกระบวนการผลิต (1) Block flow diagram หรือ Process flow diagram ของกระบวนการผลิตของ ผลิตภัณฑ์ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ (2) ค าอธิบายรายละเอียดตาม Block flow diagram หรือ Process flow diagram รวมทั้งระบุรายละเอียดของความดัน อุณหภูมิ เชื้อเพลิง วัตถุดิบและสารเคมีที่ใช้ (3) ให้ระบุปริมาณการใช้และการจัดเก็บวัตถุดิบ สารเคมี และผลิตภัณฑ์สูงสุดต่อครั้ง และ การใช้ การผลิตต่อปี พร้อมทั้งระบุลักษณะ ขนาด และจ านวนภาชนะบรรจุ รวมทั้งลักษณะการจัดเก็บ
6. จ านวนผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน วันท างาน และการจัดช่วงเวลาในการท างาน จ านวนกะ ให้ระบุจ านวนผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน วันท างาน และการจัดช่วงเวลาในการท างาน จ านวนกะ
7. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสอบสวนอุบัติเหตุ หรือ รายงานการตรวจประเมินความปลอดภัย เป็นต้น ให้จัดท าข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ โดยเน้นการเกิดไฟไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของ สารเคมี ของโรงงานย้อนหลัง 5 ปี กรณีปีไหนไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ ให้ระบุว่าไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้ง อาจจัดท ารายงานการตรวจประเมินความปลอดภัยด้วย
8. ชื่อ-นามสกุล ต าแหน่ง วุฒิการศึกษาผู้ท าการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ท่าน ให้ระบุชื่อผู้ท าการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง อย่างน้อย 3 คน ที่มีคุณสมบัติ อย่างน้อย ดังนี้ (1) มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ โรงงาน เช่น เทคโนโลยีการผลิต กระบวนการผลิต การซ่อมบ ารุง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ เป็นต้น (2) มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างาน (3) มีความรู้ ความเข้าใจในการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการ ความเสี่ยง
9. บัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย ให้จัดท าบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย โดยให้แจกแจงการด าเนินงานทั้งหมด ในโรงงานให้ครบถ้วน ตั้งแต่กระบวนการรับและการจัดเก็บวัตถุดิบและสารเคมี การเตรียมวัตถุดิบและสารเคมี ขั้นตอนการผลิต การบรรจุ การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกระบวนการสนับสนุน เช่น ระบบไฟฟ้า การ ซ่อมบ ารุง ตามแบบฟอร์มที่ก าหนดตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง โดยในแบบฟอร์มบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย ช่องแรก การด าเนินงานในโรงงาน ให้ระบุขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอน และทุกผลิตภัณฑ์ (ตาม Block flow diagram หรือ Process flow diagram) โดยเรียงล าดับตามขั้นตอนตั้งแต่ กระบวนการรับและการจัดเก็บวัตถุดิบและสารเคมี (โดยอาจแบ่งเป็นกลุ่มไวไฟ กลุ่มกัดกร่อน กลุ่มเป็นพิษ) การเตรียมวัตถุดิบและสารเคมี ขั้นตอนการผลิต การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกระบวนการสนับสนุน เช่น ระบบไฟฟ้า การซ่อมบ ารุง ช่องสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย ให้ระบุสภาวะหรือการกระท าที่อาจก่อให้เกิดการ บาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยจากการท างาน ความเสียหายต่อบุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน ช่องผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ ทรัพย์สิน
10. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ให้ท าการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ดังนี้ 10.1 การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) หมายถึง การแจกแจงอันตรายต่างๆ ที่มี และที่แอบแฝงอยู่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการทุกขั้นตอนตั้งแต่การรับจ่าย การเก็บ การขนถ่าย หรือขนย้าย การใช้การขนส่ง วัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ กระบวนการผลิต วิธีการปฏิบัติงาน เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และกิจกรรมหรือสภาพการณ์ ต่าง ๆ ภายในโรงงาน เป็นต้น การชี้บ่งอันตรายให้น ากิจกรรมในช่องการด าเนินงานในโรงงานตามบัญชีรายการสิ่งที่เป็น ความเสี่ยงและอันตรายทุกกิจกรรมมาท าการชี้บ่งอันตราย โดยแจกแจงสิ่งที่เป็นอันตรายให้ครอบคลุมทุก ประเด็นของอันตรายจากการด าเนินงานที่ระบุไว้ในบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยง (โดยเฉพาะกิจกรรมที่ อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น สารเคมีหกรั่วไหล ไฟไหม้ ระเบิด เป็นต้น) การชี้บ่งอันตรายอาจเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีที่เหมาะสมตามลักษณะการ ประกอบกิจการหรือลักษณะความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ดังต่อไปนี้ (1) Checklist เป็นวิธีที่ใช้ในการชี้บ่งอันตรายโดยการน าแบบตรวจไปใช้ในการตรวจสอบ การด าเนินงานในโรงงานเพื่อค้นหาอันตราย แบบตรวจประกอบด้วยหัวข้อค าถามที่เกี่ยวข้องกับการ ด าเนินงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบ มาตรฐานการปฏิบัติงานหรือ กฎหมาย เพื่อน าผลจากการตรวจสอบมาท าการชี้บ่งอันตราย (2) WHAT - IF Analysis เป็นกระบวนการในการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่ง อันตรายในการด าเนินงานต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยการใช้ค าถาม “จะเกิดอะไรขึ้น...ถ้า....” (What If) และหาค าตอบในค าถามเหล่านั้นเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการด าเนินงานในโรงงาน (3) Hazard and Operability Studied (HAZOP) ) เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์และ ทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการด าเนินงานโรงงาน โดยการวิเคราะห์หา อันตรายและปัญหาของระบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ ตั้งใจด้วยการตั้งค าถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่าง ๆ โดยการใช้ HAZOP Guide Words มา ประกอบกับปัจจัยการผลิตที่ได้ออกแบบไว้ หรือความบกพร่องและความผิดปกติในการท างาน เช่น อัตรา การไหล อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อน ามาชี้บ่งอันตรายหรือค้นหาปัญหาในกระบวนการผลิตซึ่งอาจท า ให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงขึ้นได้ (4) Fault - Tree Analysis (FTA) เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่เน้นถึงอุบัติเหตุหรือ อุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อน าไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดเหตุ ซึ่งเป็นเทคนิค ในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกวิทยาในการใช้หลักการเหตุและผล เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรง โดยเริ่มวิเคราะห์จากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาหาเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นก่อนแล้วน ามาแจกแจงขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์ แรกว่ามาจากเหตุการณ์ย่อยอะไรได้บ้าง และเหตุการณ์ย่อยเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การสิ้นสุดการวิเคราะห์ เมื่อพบว่าสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ย่อยเป็นผลเนื่องจากความบกพร่องของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือความ ผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน (5) Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่ใช้ การวิเคราะห์ในรูปแบบความล้มเหลวและผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์ ในแต่ละส่วนของระบบแล้วน ามาวิเคราะห์หาผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความล้มเหลวของเครื่องจักรอุปกรณ์
(6) Event - Tree Analysis เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อวิเคราะห์และประเมินหา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์แรกขึ้น (Initiating Event) ซึ่งเป็นการคิดเพื่อคาดการณ์ ล่วงหน้าเพื่อวิเคราะห์หาผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์เสียหายหรือคนท างานผิดพลาด เพื่อให้ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นการตรวจสอบว่า ระบบความปลอดภัยที่มีอยู่มีปัญหาหรือไม่อย่างไร (7) มอก. 18001 หรือวิธีการอื่นใดที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ การเลือกวิธีการชี้บ่งอันตรายต้องเหมาะสมกับการประกอบกิจการ พร้อมทั้งด าเนินการ ชี้บ่งอันตรายตามหลักเกณฑ์ของวิธีที่เลือกใช้ให้ถูกต้อง ตามแบบฟอร์มที่ก าหนดในระเบียบกรมโรงงาน อุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดท าแผนงานบริหาร จัดการความเสี่ยง โดยมีข้อแนะน าในการด าเนินการดังนี้ (1) สามารถเลือกใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายที่เหมาะสมได้มากกว่าหนึ่งวิธี (2) กรณีที่ใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายตาม มอก.18001 ให้ชี้บ่งอันตรายเพิ่มเติมในส่วนของ เครื่องจักรอุปกรณ์ ระบบไฟฟ้า และกิจกรรมสนับสนุนกระบวนการผลิต เช่น พลังงานความร้อน พลังงาน ไฟฟ้า การซ่อมบ ารุง เป็นต้น ด้วยวิธีที่เหมาะสมตามที่กฎหมายก าหนด (3) กรณีใช้วิธีชี้บ่งอันตรายโดยวิธี Checklist ต้องก าหนดกิจกรรมการด าเนินงานในโรงงาน ที่จะตรวจสอบความปลอดภัย จัดท าแบบตรวจเพื่อใช้ส าหรับการตรวจสอบความปลอดภัย โดยพิจารณาจาก กฎหมาย มาตรฐานการออกแบบ หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน น าแบบตรวจไปใช้ตรวจสอบความปลอดภัย ในการด าเนินงานในโรงงาน จากนั้นน าผลการตรวจสอบมาชี้บ่งอันตรายเพื่อหาแนวโน้มของอันตรายที่อาจ เกิดขึ้นจากพื้นที่การท างาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และกิจกรรมต่าง ๆตามแบบผลการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนการด าเนินงานในโรงงานเพื่อการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี Checklist (4) กรณีที่เป็นระบบ ท่อ ถัง วาล์ว ควรใช้วิธี HAZOP พร้อมทั้งแนบ P&ID diagram ของจุด ที่ศึกษาด้วย (5) กรณีใช้วิธี FMEA ให้แนบรายละเอียดองค์ประกอบของเครื่องจักร อุปกรณ์ ระบบไฟฟ้า ที่ท าการศึกษาวิเคราะห์ (6) หากไม่ใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายตามที่กฎหมายก าหนด ต้องขอความเห็นชอบจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน 10.2 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยหรือ สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุท าให้อันตรายที่มีและที่แอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและอาจก่อให้เกิด เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เช่น การเกิดเพลิงไหม้การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย เป็นต้น โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือ ความเสียหายแก่บุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน (1) การพิจารณาระดับโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ การพิจารณาโอกาส แบ่งออกเป็น 4 ระดับโดยพิจารณาได้จากสถิติการเกิดเหตุการณ์ สิ่งที่เป็นความเสี่ยงนั้นในอดีต และพิจารณาจากมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายที่โรงงานด าเนินการ อยู่ในปัจจุบัน ถ้าเป็นมาตรการที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเป็นมาตรการที่สามารถแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ โดยตรงและมีมาตรการที่เพียงพอ จึงสามารถพิจารณาโอกาสว่าเกิดน้อยได้
11. การจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนงานควบคุมความเสี่ยง/ แผนงานลด ความเสี่ยง) แผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง หมายถึงแผนงานลดความเสี่ยง และแผนงานควบคุมความเสี่ยง ซึ่งผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องด าเนินการจัดท าแผนงานเพื่อก าหนดมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการลดและควบคุมความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ให้จัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนงานควบคุมความเสี่ยงและแผนงาน ลดความเสี่ยง) ดังนี้ (1) แผนงานควบคุมความเสี่ยง กรณีประเมินความเสี่ยงแล้วได้ ระดับความเสี่ยง 2 ต้องจัดท า แผนงานควบคุมความเสี่ยง โดยให้น า มาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย ที่ระบุใน ตารางการชี้บ่งอันตราย มาจัดท าแผนงาน ควบคุมความเสี่ยง โดยน ามาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายของทุกข้อที่ได้ระดับความเสี่ยง 2 มา จัดท าแผนงานควบคุมความเสี่ยง โดยระบุลงในช่อง “มาตรการหรือกิจกรรมหรือการด าเนินการเพื่อลด ความเสี่ยงหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นความเสี่ยง” และก าหนดหัวข้อเรื่องที่ควบคุม และหลักเกณฑ์หรือ มาตรฐานที่ใช้ควบคุม ก าหนดผู้รับผิดชอบและผู้ตรวจติดตาม (ต้องไม่ใช่บุคคลหรือหน่วยงานเดียวกัน) การจัดท าแผนงานควบคุมความเสี่ยงจะต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม แสดงดังตารางที่ 11 (2) แผนงานลดความเสี่ยง กรณีประเมินความเสี่ยงแล้วได้ระดับความเสี่ยง 3 และ 4 ต้องจัดท าแผนงานลดความเสี่ยง ส าหรับการจัดท าแผนงานลดความเสี่ยง ให้น าข้อเสนอแนะ ที่ระบุในตารางการชี้บ่งอันตราย มาจัดท า แผนงานลดความเสี่ยง โดยน าข้อเสนอแนะของทุกข้อที่ได้ระดับความเสี่ยง 3 และ 4 มาจัดท าแผนงานลด ความเสี่ยง โดยระบุลงในช่อง “มาตรการ/กิจกรรม/การด าเนินงานลดความเสี่ยง” และก าหนดระยะเวลา ด าเนินการ (โดยให้ระบุเป็นวัน เดือน ปี ที่แน่นอนที่จะด าเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จ) พร้อมก าหนด ผู้รับผิดชอบและผู้ตรวจติดตาม (ซึ่งต้องไม่ใช่บุคคลหรือหน่วยงานเดียวกัน) เมื่อจัดท าแผนงานลด ความเสี่ยงด าเนินการเรียบร้อยแล้วให้น าแผนงานลดความเสี่ยงมาจัดท าเป็นแผนงานควบคุมความเสี่ยง ต่อไป
12. บทสรุปผลการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนการด าเนินงาน ที่มีความเสี่ยงภายในโรงงาน ให้จัดท าบทสรุปการศึกษาต้องมีทะเบียนความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยสาระส าคัญอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ - สรุปกิจกรรมหรือขั้นตอนที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง โดยให้ระบุลักษณะของการเกิด อุบัติภัยร้ายแรงตามกิจกรรมหรือขั้นตอนด้วย - สรุปความเสี่ยงระดับ 2 และ3 พร้อมทั้ง มาตรการป้องกันและควบคุมที่มีอยู่เดิม และที่จะจัดท าเพิ่มเติม จากการด าเนินการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงของ บริษัท.................................จ ากัด พบว่ามีจุดวิกฤต หรืออุปกรณ์ที่มีความวิกฤตที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น ไฟไหม้ สารเคมีหกรั่วไหล หรือระเบิดได้ เช่น
1. ................................................................................................................. .............
2. ......................................................................................................................... .....
3. ....................................................................................................... .......................
4. ............................................................................................................................. .
5. .............................................................................................................................. ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดท าแผนบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ บริษัทฯ จะปฏิบัติ ตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ดังสรุปผลระดับความเสี่ยงที่ได้ และแผนบริหารจัดการ ความเสี่ยง ดังนี้
1. ระดับความเสี่ยงสูง ................ รายการ
2. ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ................ รายการ
3. ระดับความเสี่ยงเล็กน้อย ................ รายการ และจัดท าแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ดังนี้
1. แผนงานลดความเสี่ยง ................ แผน
2. แผนงานควบคุมความเสี่ยง ................ แผน
13. จัดท าแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ และหรือสารเคมีรั่วไหล (กรณีมีการใช้สารเคมีอันตราย) ให้จัดท าแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ และหรือสารเคมีรั่วไหล ส าหรับแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ ควรประกอบด้วยแผนการตรวจสอบความปลอดภัยด้าน อัคคีภัย แผนการอบรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนการดับเพลิง และแผนการอพยพหนีไฟ ทั้งนี้ให้ระบุแหล่งรองรับน้ าจากการดับเพลิงกรณีเกิดไฟไหม้ เพื่อไม่ให้น้ าจากการดับเพลิงที่ปนเปือน สารเคมีลงสู่แหล่งน้ าสาธารณะ หมายเหตุ: การใช้แบบฟอร์มในการจัดท าบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย การชี้บ่งอันตราย ด้วยวิธีต่างๆ การจัดท าแผนงานควบคุมความเสี่ยงและแผนงานลดความเสี่ยง ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก าหนดใน “ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543”

งาน2 ในสถานที่ฝึกงานของ นศ มีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กอย่างไร และน นศ มีส่วนร่วมอย่างไร

การเต้น แอโรบิค ก่อนเริ่มปฎิบัติงาน
    มีการเต้นแอโรบิคก่อนเริ่มปฎิบัติเพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายก่อนเริ่มปฎิบัติงานทำให้พนักงานสดชื้นแจ่มใสก่อนการทำงานทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นักศึกษาได้ปฎิบัติตามด้วยเช่นกัน
*ภาพไม่สามรถถ่ายได้ครับ
วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การทั้ง วิธีการข้างต้น จะต้องขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะ นิสัยแห่งคุณภาพทั้ง ประการ ดังนี้
                                1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
                                2. การทำงานเป็นทีม
                                3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
                                4. การมุ่งที่กระบวนการ
                                5. การศึกษาและฝึกอบรม
                                6. การประกันคุณภาพ
                                7. การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมกลยุทธ์การบริหารคุณภาพ เป็นเพียงการนำเสนอ ดังนี้ (1) วงจร PDCA   (2) ระบบ ส หรือ 5 S  (3) กลุ่มระบบ QCC (Quality Control Circle : QCC)  (4) ระบบการปรับรื้อ (Re-engineering) และ (5) ระบบ TQM (Total Quality Management)
เกณฑ์วัดประสิทธิภาพขององค์การ ประสิทธิภาพขององค์การที่เกิดขึ้นมีการใช้เกณฑ์วัด คือ
                                1. เกณฑ์วัดผลตามเป้าหมาย
                                2. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพเชิงระบบ
                                3. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะส่วน
                                4. การใช้วีธีการแข่งขันคุณค่าการสร้างองค์การแห่งคุณภาพ

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563

งาน1 ผังโครงสร้างองค์การ

ผังโครงสร้างองค์การ









             โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก (Line Organization Structure) หมายถึงการจัดรูปแบบโครงสร้างให้มีสายงานหลัก และมีการบังคับบัญชาจากบนลงล่างลดหั่นเป็นขั้น ๆ จะไม่มีการสั่งการแบบข้ามขั้นตอนในสายงาน ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เหมาะสมสำหรับองค์การต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการขยายตัวในอนาคตได้ เพราะเพียงแต่เพิ่มเติมโครงสร้างในบางสายงานให้มีการควบคุมบังคับบัญชาลดหลั่นลงไปอีกได้ การจัดองค์การแบบนี้ อาจจะคำนึงถึงสภาพของงานที่เป็นจริง เช่น แบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือแบ่งตามอาณาเขต หรือแบ่งตามประเภทของลูกค้า หรือแบ่งตามกระบวนการ ผลดีของโครงสร้างแบบนี้มีหลายประการ เช่น การจัดโครงสร้างด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่าย การบังคับบัญชาตามสายงานเป็นขั้นตอน ฉะนั้นจุดใดที่มีการปฏิบัติงานล่าช้าก็สามารถตรวจสอบได้รวดเร็ว จากผู้บังคับบัญชาในระดับนั้นได้ง่าย นอกจากนั้นผู้ปฏิบัติงานได้คลุกคลีกับสภาพของปัญหาที่เป็นจริงและเกิดขึ้นเสมอ ทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ มีข้อมูลที่แน่นอน และสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็ว ซึ่งส่งผลสะท้อนให้มีการปกครองบังคับบัญชาที่อยู่ในระเบียบวินัยได้ดี การติดต่อสื่อสารและการควบคุมการทำงานทำได้ง่าย ตลอดจนเมื่อต้องการจะเปลี่ยนรูปโครงสร้างขององค์การก็สามารถที่จะเปลี่ยนได้ค่อนข้างสะดวก เพราะการจัดรูปแบบองค์การนี้ ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนมากนัก ประการสุดท้าย องค์การนี้เหมาะสำหรับการจัดรูปแบบองค์การขนาดเล็ก แต่ไม่เหมาะที่จะจัดในลักษณะองค์การขนาดใหญ่ที่มีการปฏิบัติงานสลับซับซ้อน ส่วนข้อเสียของโครงสร้างแบบนี้นั้นได้ก่อให้เกิดปัญหาดังนี้คือ ประการแรก ไม่ได้สนับสนุนให้ผู้ทำงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นอกจากนั้นบางขณะปริมาณของงานมีมาก จนต้องใช้เวลาทำงานประจำให้เสร็จ ไม่มีเวลาที่จะมาศึกษาถึงระบบการทำงานที่ดีกว่า อีกประการหนึ่งลักษณะของโครงสร้างเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เพราะไม่สามารถครอบคลุมขอบข่ายของงานได้ทังหมดได้ และประการสุดท้าย ผู้บริหารระดับสูงอาจจะไม่ยอมมอบหมายงาน ให้ผู้บริหารงานระดับรอง ๆ ลงมา หรือพยายามกีดกัน หรือส่งเสริมคนอื่นให้ขึ้นมาแทนตน ทำให้ขวัญของผู้ปฏิบัติงานในระดับรอง ๆ ไปไม่ดี หมดกำลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากโครงสร้างแบบนี้ให้อำนาจควบคุมโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

งานแก้สอบ อธิบายส่วนต่างๆของ Project

HARDWARE
1.Arduino Uno 
2.HC05 Bluetooth Module 
3.2N2222 ทรานซิสเตอร์ X4
4.Load
5.1N4007 ไดโอด
6.Relay
7.ตัวต้านทาน 10KΩ
8.ตัวต้านทาน 20KΩ
9.ตัวต้านทาน 1KΩ X4                                           
                                                                     INPUT

                                                       HC05 Bluetooth Module
                                                                     
                                                                       MCU
                                                               
                                                                 Arduino Uno
                                                                         
                                                                    OUTPUT

                                                                       LOAD
                                                                             
                                                                        Relay
                                                                         
SOFTWARE
#include <SoftwareSerial.h> //กำหนดเรียกใช้ใน ไลบรารี่ Bluetooth
const int rxPin = 4; //กำหนดไปที่ rxPinขา4
const int txPin = 2; //กำหนดไปที่ txPinขา2
SoftwareSerial mySerial(rxPin, txPin); //ไว้ใช้กำหนดค่าลงใน ไลบรารี่ Bluetooth
const int Loads[] = {9, 10, 11, 12}; //ตัวแปรอาเรย์
int state = 0; //นี่คือตัวแปล state = 0
int flag = 0; ////นี่คือตัวแปล flag = 0
void setup() //เป็นฟังก์ชั่นแรกที่เมื่อ Arduino ทำงานแล้วจะเรียกเพื่อทำการ setup ค่าตามจุดประสงค์ของฟังก์ชั่น 
{
for (int i=0;i<4;i++) //int=0<4และi+เรื่อยๆ
{
pinMode(Loads[i], OUTPUT); //สั่งกำหนดใช้ Load เก็บค่าตัวแปร อาเรย์ i เป็น OUTPUT ครับ
}
mySerial.begin(9600); //แสดงค่าออกทาง Serial Monitor
for (int i=0;i<4;i++) //int=0<4และi+เรื่อยๆ
{
digitalWrite(Loads[i], LOW); //Load[i]เป็นLOW
}
}
void loop()  //คำสั่งต่างๆในการทำงาน
{
if(mySerial.available() > 0) //ถ้าพูดถึง if คำสั่งนี้สามารถต่อไปได้เรื่อยๆจนกว่าจะพอใจ // ถ้าmySerial.available>0
{
state = mySerial.read(); //stateคือการอ่านค่า
flag=0; //flag คือ 0
}
switch(state) //มันจะตรวจสอบว่าตัวแปรมีค่าเท่ากับ case ใด
{
case '0':digitalWrite(Loads[0], HIGH); //กำหนดcase 0 แสดงค่า Load อาเรย์ 0 ตั้งเป็น High
flag=1; //ตัวนี้ตรงตัวเลยครับ flag=1 คือ flag เท่ากับ 1
break; //หยุดทำงาน
case '1':digitalWrite(Loads[0], LOW); //กำหนดcase 1 แสดงค่า Load อาเรย์ 0 ตั้งเป็น LOW
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
case '2':digitalWrite(Loads[1], HIGH); //กำหนดcase 2 แสดงค่า Load อาเรย์ 1 ตั้งเป็น HIGH
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
case '3':digitalWrite(Loads[1], LOW); //กำหนดcase 3 แสดงค่า Load อาเรย์ 1 ตั้งเป็น LOW
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
case '4':digitalWrite(Loads[2], HIGH); //กำหนดcase 4 แสดงค่า Load อาเรย์ 2 ตั้งเป็น HIGH
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
case '5':digitalWrite(Loads[2], LOW); //กำหนดcase 5 แสดงค่า Load อาเรย์ 2 ตั้งเป็น LOW
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
case '6':digitalWrite(Loads[3], HIGH); //กำหนดcase 6 แสดงค่า Load อาเรย์ 3 ตั้งเป็น HIGH
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
case '7':digitalWrite(Loads[3], LOW); //กำหนดcase 7 แสดงค่า Load อาเรย์ 3 ตั้งเป็น LOW
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
case '8':digitalWrite(Loads[0], LOW); //กำหนดcase 8 แสดงค่า Load อาเรย์ 0 ตั้งเป็น LOW
digitalWrite(Loads[1], LOW); //กำหนดแสดงค่า Load อาเรย์ 1 สั่งเป็น LOW
digitalWrite(Loads[2], LOW); //กำหนดแสดงค่า Load อาเรย์ 2 สั่งเป็น LOW
digitalWrite(Loads[3], LOW); //กำหนดแสดงค่า Load อาเรย์ 3 สั่งเป็น LOW
flag=1; //flag=1
break; //หยุดทำงาน
}

} FLOWCHART
                                                                         
*เสร็จครับ ปล.เทมอหน้าผมจะขยันกว่าเดิม --